วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม2561

เนื้อหา 


     เพื่อนคนแรก น.ส.ชานิศา หุ้ยหั่น นำเสนอวิจัย 
 เรื่อง   ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสซอรี่ ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมอนเตสซอรี่ได้ดังนี้
หลักการของการสอนแบบมอนเตสซอรี่
- พัฒนาการสอนให้สัมพันธ์กับพัฒนาการความต้องการ ตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
- ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ขวบ เป็นช่วงที่จิตซึมซับสิ่งแวดล้อมโดยไร้ความรู้สึก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การมองเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การดมกลิ่น และการสัมผัส เด็กใช้จิตในการหาความรู้
- การเรียนรู้ในระยะแรกของชีวิต เป็นช่วงพัฒนาสติปัญญา เด็กสามารถเรียนทักษะเฉพาะอย่างได้ดี ครูต้องช่างสังเกต และใช้ประโยชน์จากช่วงเวลานี้ในการจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ที่สุด
- การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนได้ดีที่สุดในสภาพการจัดสิ่งแวดล้อมที่ได้ตระเตรียมเอาไว้อย่าง มีจุดหมาย มีอิสระจากการควบคุมของผู้ใหญ่ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามความคิดของตนเองเด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ระเบียบวินัยของชีวิต มีอิสระภาพในการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องเด็กสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ลดวิธีการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนเพิ่มขึ้น





คนต่อไป คือ น.ส.วิจิตรา ปาคำ ได้นำเสนอตัวอย่างการสอน 
 เรื่อง   กิจกรรมของปฐมวัยเกี่ยวกับธรมมชาติรอบตัวเด็ก
     เพื่อให้เด็กเรียนรุ้เรื่องการเรียงจำนวนเลข แยกเลขคู่ เลขคี่ กิจกรรมบัตรเลขและเบี้ย ครูสาธิตวางเบี้ยจำนวนตรงกับบัตรตัวเลข เมื่อถึงจำนวน10 ถ้ามีเบี้ยเหลือ เด็กจะได้เรียนรู้การผิดพลาดและตรวจสอบการวางเบี้ยใหม่ (ซึ่งมอนเตสซอรี่เน้นให้เด็กสัมผัสจัดวาง)
กิจกรรมเสริมประสบการณ์นำใบไม้ที่หล่นบนพื้นรอบต้นไม้มาเปรียบเทียบให้เด็กแบ่งออกเป็น2กองโดยครูตั้งเงื่อนไขเช่นแบ่งให้กองหนึ่งมากกว่าอีกกองหนึ่งให้เด็กรู้มากกว่าน้อยกว่า
กิจกรรมสร้างรรรค์ การร้อยใบไม้ พิมพ์ภาพจากใบไม้ ตัดปะใบไม้บนตัวเลขในกระดาษ
กิจกรรมเสรี นับจำนวนถั่วตามตัวเลข
กิจกรรมกลางแจ้ง กระต่ายวิ่งเก็บของ วิ่งจับสิ่งของ5สิ่งมาใส่ในตระกร้า
เกมการศึกษา ก้อนหินหรรษา เรียงหิน ขาว แดง จับคู่1ต่อ 1เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านสิ่งที่อยู่รอบตัว
อาจารย์พูดเสริมเกี่ยวกับแต่ละกิจกรรมไว้ ในสิ่งที่สามารถนำไปสอนในอนาคตได้
-ให้เด็ก สอนนับแค่1-10 พอ 
-นับใบไม้หรือสิ่งของต่างๆ นับจากซ้ายไปขวาเสมอ เริ่มแถวใหม่ก็เริ่มจากว้าย
-ร้อยใบไม้บอกว่าร้อยจากไหน ใหญ่ไปเล็กหรือเล็กไปใหญ่ เพื่อให้เด็กได้คอนเซ็ป






คนต่อไป คือ น.ส.ปรางทอง สุริวงค์ ได้นำเสนอวิจัย  
 เรื่อง   ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร
เด็กได้การเปรียบเทียบ การจับคู่ การนับ ผักชุปแป้งทอด จับคู่ผักตามรูปทรง ถามเด้กว่าผักแต่ละชนิดมีสีเหมือนกันไหม การหั่นแครอท แบ่งขนาดในการหั่น สามารถสอนเด็กได้ว่า แบ่งได้กี่ชั้น รูปทรงอะไร สามารถนำไปประยุกต์สอนได้




บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่ 9
วันที่ 14 มีนาคม  2561
เนื้อหา
 วันนี้เรียนเรื่องสาระ ในกรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

กิจกรรมที่ 1  เรียนรู้สาระของคณิตศาสตร์แต่ละสาระ
     สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับใช้บอกสิ่งต่างๆ -จำนวนนับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง -การเรียงจากน้อยไปมาก -การรวมตัวนับเป็นจำนวนต่างๆ
      สาระที่ 2 การวัด
การวัดความยาวของสิ่งของ -ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ตำ่กว่า ยาวเท่ากัน -หนักกว่า/เบากว่า -เงินเหรียญ
      สาระที่ 3 เรขาคณิต
ข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ใกล้/ไกล เป็นคำบอกตำแหน่างทิศทางระยะของสิ่งของ -การจำแนกทรงกลม กรวย กระบอก เป็นต้น
      สาระที่ 4 พีชคณิต
แบบรูปเป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณธสำคัญร่วมขิงชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิตหรือสิ่งต่างๆ
       สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลความน่าจะเป็น
การเก็บรวบรมข้อมูลใช้วิธีสังเกตหีือสอบถาม -แผนภูมิรูปภาพ
       สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
การแก้ปัญหา การให้เหตุผล -การสื่อสารความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตสาสตร์และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


กิจกรรมที่ 2   อาจารย์ให้นำ 6 สาระมาคิดจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องในแต่ละสาระ




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันที่ 28 กุมภาพันธ์  2561



เป็นอาทิตย์ของการสอบกลางภาค เลยไม่มีการเรียนการสอน


บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันที่ 21 กุมภาพันธ์  2561
เนื้อหา
             เพื่อนคนแรก น.ส. วสุธิดา คชชา นำเสนอบทความ
เรื่อง  การสอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก           โดยการจัดการเรียนรู้ให้สนุกไม่เครียดไปเรียนรู้ผ่านการเล่นคือการได้ลงมือกระทำกับวัตถุ และได้จัดเป็นกิจกรรมเรื่องไม้ดอกไม้ประดับ เช่น จำแนกชนิด สี กลิ่นของดอกไม้ นอกจากครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าเรื่องราวโดยมีครูคอยเป็นกำลังใจ
สาระการเรียนรู้ 
       ประสบการณ์สำคัญ
            1.ร่างกาย
            2.อารมณ์-จิตใจ
            3.สังคม
            4.สติปัญญา
        สาระที่เด็กควรรู้
            1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
            2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
            3.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
            4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก




              
          ต่อมาเพื่อนคนที่ 2 น.ส. กิ่งแก้ว ทนนำ นำเสนอตัวอย่างการสอน
เรื่อง รูปทรงแปลงร่าง
             โดยถามเด็กๆว่ารู้จักรูปทรงอะไรบ้างในชีวิตประจำวัน และมีกล่องมาให้เด็กจับถ้าจับได้รูปทรงอะไรให้นำรูปทรงนั้นไปแปลงร่างเป็นสิ่งต่างๆตามจินตนาการของเด็ก เช่นวงกลม อาจจะมีวงกลมให้แล้วให้เด็กนำวงกลมไปแปลงร่างต่อเติมเป็นรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการ
       การเรียนแบบนี้ทำให้เด็กได้รู้จักคิดอย่างอิสระและรู้จักรูปทรงเพิ่มมากขึ้น และสนุกไปกับการเรียนเพราะได้สัมผัสได้เล่นให้หยิบจับของจากกล่องทำให้เด็กเกิดการสนใจและเรีบนรู้ได้ดีขี้น




วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทีกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561
เนื้อหา
            เพื่อนคนแรก น.ส.อรอุมา ศรีท้วม นำเสนอบทความ
เรื่อง ทักษะคณิตศาสตร์สร้างได้ จากนิตยาสาร รักลูกพูดเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์ การนับจำนวน การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ

            ต่อมาเป็นวิจัยของดิฉัน ได้นำเสนอวิจัย
เรื่องชื่อวิจัย : ทักษะการคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
ปริญญานิพนธ์ : คุณ ปานิตา กุดกรุง 
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต 
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ปี :พฤษภาคม 2553
ความมุ่งหมาย : เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน – หลัง การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
กลุ่มตัวอย่างการสอน : ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปีชั้นอนุบาล ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย สํานักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวน 2 ห้องเรียน นักเรียนมีจํานวนทั้งหมด 72 คน เป็นเด็กผู้ชาย – เด็กผู้หญิง อายุ ระหว่าง 4 – 5ปี ของชั้น อนุบาล 1 โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย
สรุปผลการวิจัย 
เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น เช่น การนับ การเปรียบเทียบ การจัดลำดับเด็กปฐมวัย หลังได้มีการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ เด็กมีทักษะทางคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น 59.33 ของความสามารถเดิมคนสุดท้าย ได้นำเสนอตัวอย่างการสอน รายการ ครูมืออาชีพ เลขหมุนรอบตัวเองของประเทศอังกฤษ เป็นการสอนเด็กแบบการคิดล่วงหน้าเสมอ การที่เราทำให้เด็กเข้าใจคณิตศาสตร์จะทำให้เด้ฏรักคณิตศาสตร์มากขึ้น
หลักการพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ตามแนวทางจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 1. เด็กเรียนจากประสบกาณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากการสอนแบบรูปธรรม คือ
      - ขั้นใช้ของจริง
      - ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
      - ขั้นกึ่งรูปภาพ
      - ขั้นนามธรรม
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและความรู้ความหมายมากกว่าการจำ
4. ให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กเพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย
6. จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอนให้มีประสบการณ์ให้มาก แล้วสรุปกฎเกณฑ์เพื่อจำเป็นอันดับสุดท้าย
 7. จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่าหรือสร้างเรื่องราวให้คิดซ้ำ ส่งเสริมให้เด็กคิดปัญหาและหาเหตุผล ข้อเท็จจริง

คนสุดท้ายคือ นางสาวบงกชกมล  ยังโยมร นำเสนอตัวอย่างการสอน
เรื่อง รายการครูมืออาชีพเลขหมุนรอบตัวเรา ของประเทศอังกฤษ เป็นการสอนเด็กแบบการคิดล่วงหน้าเสมอ ทั้งทางกายและทางภาษา ทำให้เด็กเรียนคณิตศาสตร์ได้เข้าใจนั้น 
กิจกรรมที่1 
อาจารย์ให้ดูภาพปกหนังสือว่ามีไรอะเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น มีรูปร่างรูปทรง ตัวเลข จำนวน ขนาด พื้นที่ 

กิจกรรมที่2
      ให้เรียนรู้เกี่ยวกับขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์
       1.การนับ
       2.ตัวเลข
       3.การจับคู๋
       4.การจัดประเภท
       5.การเปรียบเทียบ
       6.การจัดลำดับ
       7.รูปทรง,เนื้อที่
       8.การวัด
       9.เซต
      10.เศษส่วน
      11.การทำตามแบบหรือลวดลาย
      12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ


กิจกรรมที่3

        หลักการประเมินพัฒนาการ

       1.เขียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง เริ่มจากรูปธรรม
            1.1 ขั้นใช้ของจริง
            1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง
            1.3 ขั้นใช้กิ่งรูปภาพ
            1.4 ขั้นนามธรรม
       2.เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆ ใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปยาก
       3.สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าจำ
       4.ให้คิดจากปัยหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์
       5.จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน
       6.จัดกิจกรรมให้เข้าใจในขั้นตอน
       7.จัดกิจกรรมทบทวนโดยตั้งคำถามให้ตอบปากเปล่า